รับรองเอกสารราชการ

คำว่าเอกสารราชการ มีมากมายหลายประเภทตั้งแต่เรื่องเล็กๆ เอกสารราชการสำหรับการ สมัครงาน เดินทางไปต่างประเทศ ขอวีซ่า เอกสารที่ลูกค้าส่งมาแปลประจำ คือ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบเกิด หนังสือให้ความยินยอมไปต่างประเทศ ใบสด. หนังสือรับรองความประพฤติ หรือขยับเรื่องขึ้นมาอีกหน่อย เช่น ขึ้นศาล ฟ้องร้อง จำพวกหมายศาล คำฟ้อง หรือแม้กระทั่งใบแจ้งความจากกรมตำรวจ เอกสารต่างๆ เหล่านี้ แปลและรับรองคำแปลถูกต้องด้วยตราของบริษัทแปล หรือต้องการตราประทับแบบใดเพิ่มเติม เช่น ตรารับรองของ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการรับรองเอกสารแบบใด ล้วนขึ้นกับจุดประสงค์ของการนำไปใช้ และเงื่อนไขของผู้รับปลายทาง เช่น แปลเพื่อสมัครงาน ยื่นเอกสารให้หน่วยงานที่รับสมัครดูเท่านั้น หรือเพื่อขอวีซ่าระยะยาวสำหรับการทำงาน หรือเพื่อขอวีซ่าเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ วีซ่าคู่หมั้น หรือวีซ่าแต่งาน แม้กระทั่งวีซ่าไปเยี่ยมญาติ

แปลพม่า

ความจริงแล้ว การแปลเอกสารราชการเพื่อใช้ทำธุรกรรมต่างๆ เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อน ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ขอเพียงมีข้อมูลที่ชัดเจน เช่น นำไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และกับใคร เพราะแต่ละหน่วยงาน แต่ละสถานทูต แต่ละสถานที่ ที่จะรับเอกสารไปนั้นมีเงื่อนไขที่จะยอมรับเอกสารแตกต่างกัน ถ้ามีข้อมูลไม่ครบถ้วน การแปลเอกสาร การรับรองเอกสารหรือรับข้อมูลจากบริษัทรับแปลเอกสารจะไม่ชัดเจน เอกสารแปลอาจจะรับรองผิดประเภท ผิดแบบหรือไม่ครบขั้นตอน ซึ่งมีผลกับการถูกปฏิเสธจากองค์กรเหล่านั้น และเสียทั้งเงินและเวลา เพราะต้องทำใหม่ หรือไม่ทันกับการใช้งานแล้ว เช่น ผู้ที่ต้องการขอวีซ่าเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยส่วนมากสถานทูตจะต้องการเพียงเอกสารที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองคำแปลถูกต้องด้วยตราบริษัท แต่ในขณะเดียวกันหากผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นผู้เยาว์ที่ไม่ได้เดินทางพร้อมพ่อกับแม่ หรือเดินทางกับพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว เอกสารประกอบที่จำเป็นต้องใช้ คือ หนังสือให้ความยินยอมที่ต้องผ่านการแปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองคำแปลถูกต้องด้วยตราบริษัท ที่กล่าวเบื้องต้นนี้ ก็จะแตกต่างกับการขอวีซ่าประเภทคู่หมั้น หรือวีซ่าแต่งงาน เพราะวีซ่าสองประเภทนี้ จะมีอายุการพำนัก อาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ ได้ช่วงระยะเวลาค่อนขางยาวนานกว่าวีซ่าท่องเที่ยว ดังนั้นลองหา สอบถามข้อมูลกับสถานทูต และหรือขอให้แจ้งข้อมูลที่ชัดเจนก่อนเริ่มแปลเอกสาร เพื่อความรวดเร็วชัดเจนต่อการรับและได้รับเอกสารกลับมาทันใช้งานตามลำดับขั้นต่อไป

Comments are closed.