เงินบำนาญของชาวต่างชาติ (ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย)

ชาวต่างชาติหลายท่านที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย และชื่นชอบบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ผู้คน อาหารการกิน กระทั่งชีวิตการเป็นอยู่อาศัย เมื่อกลับไปประเทศของตนแล้ว โดยส่วนมากจะกลับมาอีกครั้ง และหวังใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย ซึ่งหลายๆ คน เป็นผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่อยู่ในวัยเกษียณ และส่วนมากเป็นผู้ชาย ที่ไม่ต้องทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว สุขภาพแข็งแรง ใช้เงินที่หามาได้ตลอดช่วงชีวิตการทำงานในบั้นปลาย หาสิ่งแปลกใหม่ ครอบครัวใหม่ มีคนคอยดูแลใกล้ชิดในยามแก่เฒ่า สภาพแวดล้อมใหม่ๆ เช่น อยู่ในสถานที่พักใหม่ๆ บ้านหลังใหม่ในต่างประเทศ บรรยากาศใหม่ๆ ที่ตลอดช่วงชีวิตการทำงานไม่มีโอกาสได้ทำหรือได้อยู่ตรงนั้น เพราะต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ แต่พอถึงวัยเกษียณจึงทำในสิ่งที่คิดและตั้งใจไว้

รับแปลเอกสาร

เมื่อมาอยู่ในเมืองไทย สิ่งแรกๆ ที่ชาวต่างชาติวัยเกษียณต้องเตรียมตัว คือ นอกจากบอกกล่าวญาติ พี่ น้อง หรือครอบครัวแล้ว ต้องไม่ลืมแจ้งกับหน่วยงานรัฐบาลของประเทศของท่านให้ทราบล่วงหน้าก่อนเดินทางมา เพราะคนวัยนี้จะมีเงินเก็บจากการทำงานพอสมควร หรือประเทศที่รัฐบาลมีเงินกองทุน บำเหน็จ บำนาญเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เมื่อถึงกำหนดรัฐบาลก็จะทำจ่ายโดยการโอนเข้าบัญชี การจะรับเงินกองทุนต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐบาลและอายุการทำงานของแต่ละบุคคลด้วย เช่น บางคนทำงานตลอดช่วงอายุงาน คือ ประมาณ 40 ปีและเงินเดือน แต่ละเดือนที่ได้รับก็ถูกหักเข้ารัฐตลอด คือ จะได้รับไม่เต็มจำนวน ซึ่งก็จะได้รับเงินแตกต่างจากผู้ที่ทำสามปี หยุดสองปี หรือทำๆ หยุดๆ เพราะการส่งเงินสมทบไม่เท่ากันก็มีผลกับจำนวนเงินที่ได้รับในบั้นปลาย อย่างไรก็ตามหากผู้สูงอายุชาวต่างชาติรับเงินเข้าบัญชีของตนเอง ก็ไม่มีความยุ่งยากเพราะรัฐมีประวัติ และข้อมูลสำหรับการโอนเงินเพียงพอ แต่กรณีที่ผู้สูงอายุที่อาศัยในเมืองไทยมีภรรยาเป็นคนไทย และภรรยาต้องการรับเงินบำนาญของสามี (โดยเฉพาะเมื่อสามีเสียชีวิตลง) เอกสารสำคัญที่ใช้แสดงตนของรับเงินบำนาญของสามี อาทิ ใบสำคัญการสมรส หรือทะเบียนสมรส ต้องแปลจากไทยเป็นอังกฤษ และให้กระทรวงการต่างประเทศรับรองก่อน จึงยื่นเอกสารกับสถานทูตของประเทศนั้นๆ และเอกสารรับเงินบำนาญของสามี ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศของที่สามีเป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ นำไปยื่นที่สถานทูตพร้อมกับใบสำคัญการสมรสที่แสดงความสัมพันธ์ของสามี ภรรยา ที่แปลเป็นอังกฤษเรียบร้อยแล้ว โดยขอให้กรมการกงสุลรับรองใบสำคัญการสมรสนั้นๆ ก่อน จากนั้นจึงนำเอกสารดังกล่าวไปติดต่อขอให้สถานทูตรับรอง และส่งเรื่อง (เอกสาร) ไปยังหน่วยงานที่ดูแลเรื่องรับผิดชอบเรื่องเงินบำนาญ ฟังดูเหมือนไม่ยาก แต่ต้องใช้เวลาและรอคำตอบจากหน่วยงานเช่นกัน

Comments are closed.